• งานสำเร็จด้วยจิตเป็นสุข [6828-1u]
    Jul 6 2025
    Q1: หลักธรรมนำองค์กรสู่ความสำเร็จA: หัวหน้าต้องมีสังคหวัตถุ 4 = ธรรมะที่จะประสานหมู่ชนให้สามัคคีกันได้ 1. ทาน = ให้ เสียสละ แบ่งปัน 2. ปิยวาจา = พูดจาดีต่อกัน ไม่ทิ่มแทง ไม่พูดคำหยาบ 3. อัตถจริยา =ประพฤติประโยชน์ ช่วยเหลือกัน 4. สมานัตตตา = มีตนเสมอกัน นัยแรก เสมอต้นเสมอปลายในทาน ปิยวาจา และอัตถจริยา นัยสอง มีเป้าหมายร่วมกัน นัยสาม มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรเช่นเดียวกับผู้อื่น- หัวหน้าต้องมีพรหมวิหาร 4 = ธรรมะเพื่อการรักษาความเป็นผู้ใหญ่ของตน (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)- บุคคลในองค์กรต้องมีอิทธิบาท 4 = ธรรมะเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา)Q2: ทำงานอย่างไรให้จิตใจเป็นสุขA: งานทุกอย่างสามารถสร้างกุศลธรรมให้เกิดขึ้นในงานนั้นได้ (ยกเว้นงานที่ทำผิดศีล) เช่น สร้างความดี รักษาศีล ทำสังควัตถุ 4 เจริญอิทธิบาท 4 มีพรหมวิหาร 4 เป็นต้น ให้ตั้งความพอใจไว้ตรงนี้ ก็จะเกิดสันตุฏฐี = ความสันโดษ (พอใจในสิ่งที่มี ไม่ไปตามอำนาจความอยาก) ทำให้รักษาจิตให้เป็นสุขได้ ส่งผลให้เจริญอิทธิบาท 4 ได้ดียิ่งขึ้น ก็จะนำไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ Q3: การทำงานเป็นทีมA: นอกจากสังคหวัตถุ 4 แล้ว ต้องมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นด้วย- หัวหน้าต่อลูกน้อง (ตามหลักทิศ 6) = ให้ของที่มีรสประหลาด ให้ทำงานตามกำลัง มีรางวัลวันหยุด ดูแลยามเจ็บไข้- ลูกน้องต่อหัวหน้า (ตามหลักทิศ 6) = ทำงานเต็มที่ ไม่ถือเอาทรัพย์ที่เจ้านายไม่ได้ให้ มาทำงานก่อน เลิกงานทีหลัง Q4: ธรรมะสำหรับชีวิตคู่A: ฆราวาสธรรม 4 = ธรรมะสำหรับผู้ครองเรือน1. สัจจะ (ความจริง) = นัยแรก ให้ความจริงต่อกัน นัยสอง เห็นความจริงของโลก (อริยสัจ, อนิจจัง, อนัตตา)2. ทมะ (การฝึกตน)) = ฝึกข่มบังคับใจตน ปรับเปลี่ยนตนเอง3. ขันติ (ความอดทน) = อดทนต่อสิ่งที่ไม่น่าพอใจ พฤติกรรมที่ไม่ชอบ 4. จาคะ (ความเสียสละ) - ความรักด้วยราคะ = ต้องการเงื่อนไขตอบแทน- ความรักด้วยเมตตา = ไม่ต้องการเงื่อนไขใดตอบแทน ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต- ความอดทนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของราคะซึ่งอยู่ไม่นิ่ง ความอดทนนั้นจะอยู่ได้ไม่นาน ทนได้แค่ไหน ก็อยู่ด้วยกันได้เท่านั้น - ...
    Show More Show Less
    51 mins
  • AI กับ Mindset สู่ความสำเร็จ [6827-1u]
    Jun 29 2025

    Mindset ที่นำไปสู่ความสำเร็จ

    1. แยกแยะประโยชน์และโทษ = ทุกสิ่งล้วนมีทั้งประโยชน์และโทษ มากน้อยไม่เท่ากัน ต้องเรียนรู้ให้ทัน ลงมือทำให้เร็ว ปรับเปลี่ยนให้ไว อย่ากลัวความผิดพลาด เพราะความผิดพลาดจะนำไปสู่การแก้ไขให้เกิดการพัฒนาได้ และต้องลงมือทำบ่อย ๆ อย่าคิดว่าทุกอย่างต้อง Perfect จึงไม่ลงมือทำ การปรับปรุงตนเองเพียงวันละ 1% นำไปสู่การพัฒนาตัวเองได้

    - ตัวอย่าง พิษของงู นำมาทำเป็นเซรุ่ม

    - ตัวอย่าง AI มีโทษทำให้มนุษย์ไม่ได้ใช้ความคิดและมีปัญหาปฏิสัมพันธ์กับคน แม้ AI จะมีโทษ แต่ถ้าเข้าใจโทษของมันแล้ว อยู่กับโทษของมันให้ได้ พยายามลดโทษและพยายามสร้างประโยชน์จาก AI ก็จะได้รับประโยชน์

    2. อย่ารักใครมากเกินไป อย่าเกลียดใครมากเกินไป = คนเราเปลี่ยนแปลงได้ อย่าไปยึดติด ความรักเป็นราคะ ความเกลียดเป็นโทสะ ต้องมีสติสัมปชัญญะ พิจารณาให้เห็นด้วยปัญญา เจริญพรหมวิหาร 4

    3. รู้จักปฏิเสธ = งานมาก ทางเลือกมาก ต้องเลือกให้ดี รู้จักปฏิเสธบ้าง จัดลำดับความสำคัญของงานให้ถูกต้อง ให้จิตใจมาจดจ่ออยู่กับงานที่สำคัญ

    4. กินอาหารพอประมาณ = อย่ากินอาหารเต็มที่ ให้กินแค่ 80% ของท้อง อย่ากินบ่อย เพราะมีสารพิษในอาหารมาก มีเมนูมาเชิญชวนมาก ทำให้เกิดความมัวเมา เป็นทาสของอาหาร นำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน เช่น โรคกลุ่ม NCDs (เบาหวาน ความดัน หัวใจ ฯลฯ) เป็นต้น

    5. นอนเป็นเวลา = ตั้งเวลาเข้านอน ดีกว่าตั้งเวลาตื่น

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    59 mins
  • รักษาศีลแล้ว จะกินอะไร? [6826-1u]
    Jun 22 2025
    Q1: แก้ความขัดแย้ง ด้วยสันติวิธี A: ต้องทำลายข้อจำกัดของแต่ละฝ่าย ด้วยการอยู่เหนือข้อจำกัดเหล่านั้น - สันติวิธี คือ 1. ตั้งสติ = ไม่เผลอเพลินไปตาม “อารมณ์” ชอบใจหรือไม่ชอบใจ มีความอดทนไม่ไปตามการยั่วยุ จะทำให้การตัดสินใจเป็นไปด้วย “เหตุผล” 2. มีพรหมวิหาร 4 = โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เมตตา” และ “อุเบกขา” 3. ไม่ทำผิดศีล = เช่น ไม่ฆ่า ไม่พูดโกหก- การพูดปลุกกระแสให้มีความสามัคคีกัน เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ถ้าพูดเพื่อให้เกลียดอีกฝ่ายหนึ่ง จะเป็นวาจาที่ยุยงให้แตกกัน อย่าให้เป็นอย่างนั้นQ2: รักษาศีลแล้ว จะกินอะไร?A: คนเรามักจะอ้างว่าจำเป็นต้องทำผิดศีล ถ้าไม่ทำผิดศีลแล้ว จะเอาอะไรกิน? - คำตอบคือ ก็กินศีลที่คุณรักษานั่นแหละ - วิธีกินศีลให้อิ่ม คือ ให้ศีลที่รักษาไว้ออกผล 1. ถ้าเรารักษาศีล ศีลจะรักษาเรา = เช่น มีความสุขกาย สุขใจ ไม่ทุกข์ในโรคภัยไข้เจ็บ ครอบครัวไม่แตกแยก 2. เมื่อมีศีล จะตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง = แม้เจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจ (เช่น ยอดขายตก) แต่เมื่อนึกถึงศีลแล้ว การตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ จะดีขึ้น จิตใจจะดีขึ้น เมื่อจิตใจดี มีความมั่นคงแล้ว จะสามารถตัดสินใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งการตัดสินใจนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนแปลงของชีวิต เช่น ได้อาชีพใหม่ที่ไม่ผิดศีล ปัญหาในครอบครัวก็จะดีขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ก็จะคลี่คลาย Q3: ลืมแก้บน A: หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่มีการอ้อนวอนขอร้อง หรือการบนบานศาลกล่าว มีแต่การตั้งเจตนา ตั้งอธิษฐาน ตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความสำเร็จ การตั้งเจตนาต่อหน้าพระพุทธรูปหรือสิ่งที่เคารพ ก็เพื่อให้เกิดความละอายที่จะล้มเลิกการสร้างเหตุนั้นกลางทาง- ถ้าเคยบนบานศาลกล่าวไว้แต่จำไม่ได้ แล้วไม่สบายใจ ก็ทำตามที่บนในจุดที่สบายใจ ณ เวลานั้น แล้วกลับมาอยู่ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้องว่าไม่มีการอ้อนวอนขอร้องหรือบนบานศาลกล่าว แต่ให้ตั้งเจตนา อธิษฐานสร้างเหตุในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ- มีศรัทธา มีความเพียรแล้ว ต้องมีปัญญาด้วย ก็จะไม่งมงาย ไม่ถูกหลอกQ4: ชอบเช่าพระเครื่อง A: ...
    Show More Show Less
    54 mins
  • ปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน [6825-1u]
    Jun 15 2025
    ช่วงไต่ตามทาง: สุนัขตาย- ความรัก ความชอบใจ ในสิ่งใด เป็นความเพลิน เป็นอุปาทาน (ความยึดถือ) จิตที่ยึดถือไว้กับสิ่งใด สิ่งนั้นจะเป็นตัวตน (อัตตา) ขึ้นมาทันที เมื่อสิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป ต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้น จิตจะถูกฉีกออก แหวกออก กระชากออก จึงเกิดความรู้สึกที่เป็นความทุกข์ขึ้น- ความยึดถือที่เป็นผลจากความทะยานอยาก อันเกิดจากความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิน ซึมซาบเข้ามาสู่จิต โดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะถูกอวิชชาบังไว้ ทำให้ตัณหาคืบคลานเข้ามา ทำให้จิตมีทุกข์- อวิชชา เปรียบเหมือนยาพิษ ตัณหา ความทะยานอยาก ความยึดถือ เปรียบเหมือนลูกศร แทงเข้ามาในใจ- ทางแก้ คือ ต้องถอนลูกศรออก ด้วยการตั้งสติไว้อยู่กับพุธโธ ธัมโม สังโฆ ลมหายใจ พิจารณากาย เป็นต้น และถอนยาพิษ ด้วยวิชชา (ความรู้) โดยใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ทุกคนต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่พอใจ ทั้งสิ้น สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วย่อมมีการแตกดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเกิดปัญญาเช่นนี้ อวิชชาจะคลายลง ความทุกข์ ความเศร้าโศกก็จะลดลง ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน- หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเราถูกกระทำ (ด้วยอกุศลธรรม) อย่ากระทำต่อ (ด้วยอกุศลธรรม) เราจะแย่กว่า เพราะเปลี่ยนจากดีกลายเป็นไม่ดี การเอาความชั่วเข้าห้ำหั่นกับความชั่วมันง่าย แต่จบยาก ความชั่วจะยิ่งเพิ่มขึ้น เหมือนทำความสะอาดพื้นสกปรก ด้วยสิ่งสกปรก- ปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน1. ให้เรารักษาเขตแดนทั้งภายนอก (แผ่นดิน) และเขตแดนภายใน (จิต) ของเราไว้ให้ดี กล่าวคือ ให้รักษากุศลธรรมทางกาย (ไม่ฆ่า) ทางวาจา (พูดจาดี) ทางใจ (ไม่พยาบาท) ตัวอย่าง พระเจ้าวิฑูฑภะรบกับพวกเจ้าศากยะ โดยพวกเจ้าศากยะฝึกซ้อมรบไว้เพื่อป้องกันแต่จะไม่ฆ่า เช่น ยิงธนูป้องกัน หรือฟันไม่ตาย2. เปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็นมิตร ด้วย “สังคหวัตถุ 4” คือ 1. ทาน 2. ปิยวาจา (พูดจาดี) 3. อัตถจริยา (ประพฤติประโยชน์แก่กัน) 4. สมานัตตตา (วางตนสม่ำเสมอ)3. ใช้พรหมวิหาร 4 (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เพื่อหาทางออก - สงครามทั้งหลายที่ลงกันไม่ได้ เพราะต่างฝ่ายต่างถือในเหตุผลของตน ...
    Show More Show Less
    55 mins
  • การถวายเงินให้พระสงฆ์ [6824-1u]
    Jun 8 2025
    Q1: การถวายเงินให้พระA: การถวายเงินให้วัด หากตั้งจิตเจาะจงให้กับหมู่สงฆ์ (หมู่แห่งผู้ฟังคำสอน ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ) ถือเป็นการตั้งเจตนาไว้ดีแล้ว แม้พระสงฆ์ผู้รับไว้แทนจะเป็นพระทุศีล อานิสงส์ผลบุญที่เกิดจากการให้ทานนั้น ยังให้ผลเท่าเดิม- พระพุทธเจ้าทรงเปรียบศาสนาพุทธเหมือนทะเลด้วยอุปมา 8 ประการ หนึ่งในนั้น คือ อุปมาเหมือนทะเลจะไม่อยู่ร่วมกับซากศพ เศษซากต่าง ๆ จะถูกพัดขึ้นฝั่งทั้งหมด คนที่ทำไม่ดีในคำสอนนี้จะอยู่ไม่ได้ จะต้องถูกซัดออกจากศาสนาQ2: ทำบุญชาตินี้ หวังผลชาติหน้าA: การมองการณ์ไกลด้วยปัญญา คือ การมองเห็นอนาคตว่ายังต้องเจอทุกข์จากความแก่ เจ็บ ตาย รวมถึงชาติหน้ายังต้องเกิดแล้วเจอแบบนี้อีก ไปอีกหลายชาติ เมื่อเห็นดังนี้จะคิดต่อไปว่า วันนี้จะทำอะไร เพื่อให้เมื่อความแก่ เจ็บ ตาย มาถึงแล้ว จะยังเป็นผู้ที่ผาสุกอยู่ได้ จะทำอย่างไรไม่ให้ไปเกิดในชาติหน้าอีก- ให้สร้างเหตุปัจจัยในการทำความดี (ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา) แล้วตั้งจิตอธิษฐาน (ตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำเหตุนั้น ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง) ทั้งนี้ การให้ผลของบุญอาจใช้เวลา ระหว่างนั้นให้สร้างเหตุในการทำความดีต่อไปเรื่อย ๆ Q3: การเล่นหวยA: หลักในการใช้จ่ายทรัพย์ (สมชีวิตา) รายรับต้องท่วมรายจ่าย อย่าให้รายจ่ายท่วมรายรับ โดยใช้จ่ายใน 4 อย่าง 1. เลี้ยงตน เลี้ยงครอบครอบครัวให้เหมาะสม 2. ใช้จ่ายเพื่อการรักษา (เปลี่ยนเป็นสินทรัพย์อย่างอื่นที่ไม่สูญหาย, ลงทุน) 3. แบ่งปันเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น 4. แบ่งปันเพื่อหวังบุญ (ทำบุญกับเนื้อนาบุญ)- อบายมุข (รูรั่วของทรัพย์) ได้แก่ 1. นักเลงสุรา 2. นักเลงการพนัน 3. นักเลงเจ้าชู้ 4. มีเพื่อนชั่ว- ซื้อหุ้นต่างกับซื้อหวย เพราะซื้อหวย ตอนออกรางวัลเราควบคุมไม่ได้ แต่การซื้อหุ้น เราควบคุมผลตอบแทนได้ว่าจะขายเท่าไรQ4: ตู้ชำระหนี้สงฆ์A: ตู้ชำระหนี้สงฆ์ = เพิ่งมีในสมัยนี้ มีที่มาจาก ญาติโยมไปวัด ใช้ของวัด ดินทรายติดเท้าออกมา เหมือนเอาของวัดออกจากวัด จึงอยากชำระคืนวัด - ญาติโยมไม่ควรยินดีกับการถวายเงินให้พระสงฆ์โดยตรง เพราะจะทำให้ศีลหรือคุณธรรมของท่านลดลง ...
    Show More Show Less
    53 mins
  • วิธีออกจากวังวนของ Second-Guess [6823-1u]
    Jun 1 2025
    ช่วงไต่ตามทาง: ความคับข้องใจจาก Second-Guess- การตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเห็นการกระทำของคนอื่นแล้ว เกิดความคิดที่สองแทรกขึ้นมาทันที ซึ่งหักล้างกับความคิดแรก อาจเป็นได้ทั้งเรื่องดีหรือไม่ดี ทำให้เกิดความคิดคับข้องใจในเรื่องต่างๆ เป็นลักษณะที่เรียกว่า Second Guessing ซึ่งความคับข้องใจนั้น อาจสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมหลายแบบในบุคคลคนเดียวกัน เป็น Multiple Personality - ความคับข้องใจ เป็นการเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น หรือทั้งสองฝ่าย - ผู้ฟังท่านนี้เป็นนักธุรกิจ เกิดคำถามในใจตนว่าสินค้าบางอย่างขายแพงเกินไป ได้กำไรเกินไป คิดจะลดราคา ถ้าลดราคาแล้วลูกค้าจะรับได้หรือไม่ เกิดเป็นความคับข้องใจในความคิดของตน คิดวนไป ตัดสินใจไม่ได้ เกิดเป็นความเครียด อยู่เป็นประจำ รวมถึงข้องใจในการกระทำของบุคคลอื่นด้วย บางครั้งก็พูดความคิดของตนออกมา จิกกัดคนอื่น แต่บอกว่าหวังดี คนอื่นก็เครียดตามไปด้วย - แต่เมื่อได้ฟังรายการธรรมะรับอรุณ ได้รู้จัก “การตั้งสติ” ด้วยการสังเกตและแยกแยะความคิดที่เป็น second-guess ในแต่ละเรื่องที่โผล่ขึ้นมา ว่าเป็นสังกัปปะ (ความดำริ) ที่ไม่ดี ทำให้เครียด จึงแยกตัวออกจากความคิดนั้น ด้วยการคิดเรื่องอื่น เช่น ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ลมหายใจ ความเมตตา หมวดธรรมะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความคิดไม่ดีก็ค่อย ๆ อ่อนกำลังลง ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: วิธีออกจากวังวนของ Second-Guess- เราอย่าเอาเวทนาเป็นเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตว่า ให้หลีกหนีความทุกข์ แล้วเอาความสุขเป็นหลัก แต่ให้เอากุศลหรืออกุศลเป็นเกณฑ์ กุศลบางอย่างอาจมีทุกขเวทนาแฝงมา อกุศลบางอย่างอาจมีสุขเวทนาแฝงมา แต่ในที่สุดแล้ว กุศลจะให้สุขเวทนาที่มีค่ามากกว่า และอกุศลจะให้ทุกขเวทนาที่หนักหน่วงมากกว่า- ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ ทางที่เอากุศลเป็นเกณฑ์ เป็นทางออกจากความทุกข์ทั้งปวง ตัวอย่าง สัมมาวาจา ตัวอย่าง การทำงาน - ด้วยฉันทะตัวอย่าง การช่วยเหลือผู้อื่น - ด้วยเมตตา กรุณา และอุเบกขาตัวอย่าง การตั้งราคาสินค้าและบริการ – ไม่ขูดรีด ไม่เบียดเบียนตัวอย่าง การลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง - ด้วยอิทธิบาท 4 ด้วยความสันโดษ มักน้อย ...
    Show More Show Less
    1 hr and 1 min
  • ถูกบีบคั้นให้ทำไม่ดี แก้อย่างไร [6822-1u]
    May 25 2025
    Q1: กิจกรรมทำบุญในวัดA: การทำบุญ กระทำได้ 3 รูปแบบ คือ ทางกาย (ให้ทาน) ทางวาจา (ศีล) ทางใจ (ภาวนา)- การบูชาบุคคล: - พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ควรบูชาสูงสุด ให้ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด เพื่อการพ้นทุกข์ - การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยบูชาในคุณความดีของบุคคลเหล่านั้น เช่น พ่อแม่ คุณความดีของเทพเจ้า- การอธิษฐาน: - การอ้อนวอนขอร้อง = ปรารถนา “เอาผล” โดยไม่สร้างเหตุที่ถูกต้อง - การอธิษฐาน = ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง แต่เป็นการตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้าที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นการ “สร้างเหตุ” เพื่อหวังเอาผล Q2: ทางออกจากวงจรอุบาทว์ของจิตA: จิตมีความเป็นประภัสสร แต่ธรรมชาติของจิตจะไหลไปตามกระแสของสิ่งต่างๆ ที่มากระทบ ทำให้จิตผ่องใสได้ เศร้าหมองได้- การพัฒนาจิต = ผู้ที่มีปัญญาจะทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามทางสายกลาง (มรรค 8) จิตจะผ่องใสได้ โดยไม่ต้องพึ่งสิ่งแวดล้อมภายนอก - กิเลสทำให้จิตไม่สงบ เมื่อจิตไม่สงบก็จะทำให้เกิดกิเลส เป็นเช่นนี้วนไป เป็นวงจรอุบาทว์ของจิต (Vicious Cycle) - วิธีออกจากวงจรอุบาทว์ของจิต = เริ่มจากเปลี่ยนคำถามว่า "ทำไมจิตถึงเป็นอย่างนั้น" เป็น "ใครหนอจะรู้ทางออกของความทุกข์นี้ สักหนึ่งหรือสองวิธี?" จิตก็จะเปลี่ยนโฟกัสทันที สัมมาสติเริ่มเกิดขึ้นแล้ว (พุทโธ) จากนั้นให้นึกถึงพระสงฆ์ผู้ที่เคยแก้ปัญหาความทุกข์ในจิตได้แล้ว (สังโฆ) โดยมีพระธรรมเป็นกระบวนการในการแก้ปัญญานั้น (ธัมโม) เมื่อเห็นดังนั้นแล้ว จะเกิดความมั่นใจ (ศรัทธา) และเมื่อมีศรัทธาแล้วจะเกิดการลงมือทำจริง แน่วแน่จริง ได้ผลเป็นจิตที่ผ่องใส เมื่อจิตผ่องใส ก็ยิ่งมีความมั่นใจความศรัทธามากขึ้น ก็จะยิ่งทำจริง แน่วแน่จริง มากยิ่งขึ้น (ความเพียร) จิตก็จะพัฒนายิ่งขึ้น Q3: ถูกบีบคั้นให้ทำไม่ดี แก้อย่างไรA: การรู้ว่าสิ่งไหนควรทำ (กุศล) หรือไม่ควรทำ (อกุศล) อันนี้ดี เป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว แต่ที่ยังลงมือทำสิ่งที่ควรทำไม่ได้ เพราะยังมีความเพลิน ยังไม่มีสัมมาสติและสัมมาวายามะ (การทำจริง แน่วแน่จริง) แก้ได้โดยระลึกถึงคนที่เคยถูกบีบคั้นเรื่องเดียวกัน ...
    Show More Show Less
    59 mins
  • ธรรมะเพื่อครอบครัวที่มั่นคง [6821-1u]
    May 18 2025
    ช่วงไต่ตามทาง: ความรักของหญิงชาย- ชายหญิงคู่หนึ่ง รักกันตั้งแต่สมัยมัธยม เรียนมหาวิทยาลัยคณะเดียวกัน ตั้งใจว่าเรียนจบจะแต่งงานกัน สองครอบครัวดีมาก ทั้งสองคนได้มาปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ หลายครั้ง ทุกปี ความรู้สึกที่มีให้กันเปลี่ยนแปลงไป ความรู้สึกในทางกำหนัดทางกามจืดจางลง ความเพลิดเพลินในเพศตรงข้ามลดลง เปลี่ยนเป็นความรู้สึกแบบเพื่อน พี่น้อง มองกันด้วยความรัก ความเมตตา เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่มีเงื่อนไข ทั้งสองคนเห็นตรงกันว่าจะไม่แต่งงานกันช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : ครอบครัวเป็นพื้นฐานแห่งชีวิต- ครอบครัวที่เล็กที่สุด คือ พ่อ แม่ ลูก- ในมงคล 38 ประการ มีเรื่องเกี่ยวกับครอบครัวถึง 3 ข้อ ได้แก่ การบำรุงบิดามารดา การสงเคราะห์บุตร และการสงเคราะห์คู่ครอง หากทำความเข้าใจและทำตามได้ จะทำให้สถาบันครอบครัวมีความมั่นคงและมีความมงคลเกิดขึ้นได้ (1) บำรุงบิดามารดา- มารดาบิดา เป็นบุคคลที่หาได้ยากในโลก เป็นผู้ที่อุปการะบุตรก่อนตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ ให้เรารู้คุณนั้นแล้วกระทำต่อ (กตัญญูกตเวที) เช่น ทำบุญอุทิศให้ ช่วยทำกิจธุระ เป็นลูกที่ทำตัวดี ซื้ออาหารที่ชอบให้ทาน - หากมีปมกับพ่อแม่ ให้แก้ด้วยการทำดีต่อพ่อแม่ไปเรื่อยๆ จะทำให้ความไม่ดีค่อยเจือจางลดลงไป ต้องอดทน- ให้ตั้งจิตใหม่ตั้งแต่บัดนี้ ในการที่จะบำรุงยกพ่อแม่ขึ้นเหนือเศียรเหนือเกล้า แล้วลงมือทำ ล้างเท้าบิดามารดาด้วยน้ำอุ่น จะเป็นมงคลในชีวิต(2) สงเคราะห์บุตร- พ่อแม่ มีหน้าที่ ห้ามลูกจากบาป และให้ลูกตั้งอยู่ในความดี- ให้เลี้ยงดูลูกให้ดี อย่าใช้อารมณ์ อย่าโยนหน้าที่นี้ไปให้ครู อย่าตามใจเกินไป อย่าเข้มงวดเกินไป(3) สงเคราะห์คู่ครอง- สามีภรรยา ต้องเกื้อหนุน สงเคราะห์กัน- สามี มีหน้าที่ มอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ ให้อาหาร ให้เครื่องประดับ ยกย่อง ไม่ดูหมิ่น ไม่ประพฤตินอกใจ- ภรรยา มีหน้าที่ จัดแจงการงานอย่างดี สงเคราะห์คนข้างเคียงดี รักษาทรัพย์ที่มีอยู่ ขยันขันแข็งในหน้าที่ทั้งปวง ไม่ประพฤตินอกใจ- สำหรับคนที่ไม่มีคู่ครอง ไม่มีลูก ยังไงก็มีครอบครัว คือ ตัวเราที่เกิดจากพ่อแม่ ...
    Show More Show Less
    57 mins