• กำจัดความไม่รู้ด้วยความรู้ [6827-7q]
    Jul 5 2025

    Q: อะไรเป็นผู้ที่คิดนึกปรุงแต่ง ?

    A: ไม่มีอะไรเข้าไปปรุง จิตเป็นกระแสต่อเนื่องกันมา ๆ มีสภาวะเป็นภาพลวงตา การที่เราเข้าใจว่าจิตเข้าไปปรุงแต่งนั้น เราเข้าใจผิด เพราะเราไม่รู้ว่าถูกคืออะไร ซึ่งความเข้าใจผิดนั้นความไม่รู้นั้น คืออวิชชา เราจะดับอวิชชาได้ เราต้องเห็นความไม่เที่ยง เห็นกฎของไตรลักษณ์ เข้าใจว่าสังขารการปรุงแต่งทั้งหมดคืออวิชชา พอเราเห็นความไม่เที่ยง ละอวิชชาได้ รู้ว่าสิ่งนี้ไม่ควรยึดถือแล้ว เราก็วางละความยึดถือในสิ่งนั้น เราก็จะพ้นทุกข์ได้


    Q: ทำไมจึงอยากพ้นทุกข์ ทั้งที่ก็ยังทำกิจที่เป็นทุกข์อยู่?

    A: กิจที่ควรทำกับทุกข์ คือทำความเข้าใจในทุกข์และยอมรับมัน ไม่ใช่ว่าหนีจากมัน หนีจากทุกข์ แต่สิ่งที่ไม่ดีที่เราต้องหนีต้องละ นั่นคือตัณหา พอเราละตัณหา เข้าใจทุกข์ยอมรับทุกข์ ทุกข์ก็จะไม่มาเป็นทุกข์ เรียกว่า “พ้น” จากกัน


    Q: ข้าวหมากถวายพระได้ไหม?

    A: ถวายได้และรับได้ ส่วนการฉัน ท่านได้บัญญัติไว้ว่า “ห้ามดื่มสุรา” แต่ก็มีข้อยกเว้น ในกรณีที่พระท่านอาพาธ ท่านให้ฉันได้ โดยให้พิจารณาว่าฉันเป็นยา เจตนาคือฉันเพื่อระงับเวทนา


    Q: ทำดีจะสามารถลบล้างความชั่วได้หรือไม่?

    A: ถ้าทำกรรมดีในลักษณะที่เป็นมรรค 8 มรรค 8 จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้สิ้นกรรม เข้าสู่นิพพานได้ ทั้งนี้จะต้องไม่เคยทำอนันตริยกรรมมาก่อน เพราะหากเคยทำจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นก่อนจึงจะค่อยเหนือความชั่วอื่น ๆ ได้


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    54 mins
  • ทุกข์เพราะพลัดพราก [6826-7q]
    Jun 28 2025

    Q: ทำบุญ/แผ่เมตตาอย่างไรคนตายจึงจะได้รับและเมื่อตายจะได้เจอกันหรือไม่?

    A: ท่านได้กล่าวไว้ว่า “เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา” เราจึงต้องพิจารณาไว้ก่อนแล้ว แม้เขาจะตายจากเราไป แต่ความดีเขายังอยู่ เมื่อการร้องไห้คร่ำครวญไม่ได้ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น เราจึงควรหาทางอื่นที่เป็นทางออก เราควรทำความดีทั้งทาน ศีล ภาวนา พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เข้าใจตามความเป็นจริง เราก็จะพ้นจากทุกข์ได้


    Q: ปัจจัยสี่ประการที่จะทำให้ได้เจอกัน

    A: ท่านได้ตรัสไว้ถึงเหตุปัจจัย 4 ประการ คือ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ต้องเสมอกัน ถ้าไม่เสมอกันจะไม่เจอกัน คือสิ่งที่จะทำให้เกิดบุญและให้ไปอยู่คนละที่ นั่นเอง


    Q: พระโพธิสัตว์จากนิทานธรรมบทมีในดินแดนอื่นนอกเหนือชมพูทวีปหรือไม่?

    A: ในหลักฐานตามตำราคัมภีร์ไม่ได้กล่าวถึงบริเวณอื่นนอกจากชมพูทวิป


    Q: เราใส่เหรียญลงในบาตรประจำวันเกิดกันทำไม?

    A: เป็นวัฒนธรรมของคนไทยที่หล่อหลอมรวมกันกับพุทธศาสนา ที่เพิ่งมีในสมัยนี้ ที่ได้ทำบุญด้วยการให้ทาน


    Q: ธรรมะข้อใดสำหรับคนที่กำลังตกงาน?

    A: สังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วย 1) ทาน คือการให้ทั้งสิ่งของและความรู้ คำแนะนำ 2) ปิยวาจา คือไม่นินทา พูดจาไพเราะ 3) อัตถจริยา คือประพฤติประโยชน์คือขวนขวายช่วยเหลือ และ 4) สมานัตตตา คือเสมอต้นเสมอปลาย วางตนให้เหมาะสมกับฐานะ

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    56 mins
  • สมาธิชนิดที่เกิดปัญญา [6825-7q]
    Jun 21 2025

    Q: ปฏิบัติธรรม ร้องเพลงได้ไหม ?

    A: สำหรับผู้ที่รักษาศีล 5 ร้องเพลง ฟังเพลงได้ แต่หากเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่รักษาศีล 8 ท่านห้ามเอาไว้ สำหรับนักบวช การที่มีเสียงขึ้นลงนั้นท่านให้ได้มากที่สุดคือการสวดทำนองสรภัญญะ ส่วนเนื้อเพลงท่านให้ได้แค่แต่งกลอน ที่ท่านห้ามไว้เพราะหากฟังเพลงร้องเพลงแล้ว ความเพลินความพอใจ มันจะมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ท่านสอนคือให้เราลดกามลง


    Q: อรูปราคะในสังโยชน์เบื้องสูงหมายถึงอะไร?

    A: ภพ แบ่งเป็น “กามภพ” คือ สภาวะที่ชุ่มอยู่ด้วยกาม หากละสังโยชน์เบื้องต่ำ 3 อย่างได้ จะเป็นพระโสดาบัน เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ แต่ยังอยู่ในกามภพ, “รูปภพ” คำว่า รูปในที่นี้หมายถึง รูปฌาน คือสมาธิขั้นที่ 1-4 หากยังยินดีในฌานสมาธินั้นอยู่ นั่นคือรูปราคะ, “อรูปภพ” คือ ตั้งแต่สมาธิขั้นที่ 5 ขึ้นไป ซึ่งก็คือ อรูปฌาน และถ้าเรายังมีความยินดีพอใจในสมาธิขั้นสูงนี้ นั่นคืออรูปราคะ


    Q: สมาธิแบบไหนทำให้เกิดปัญญา?

    A: สมาธิชนิดที่เป็นสัมมาสมาธิ หมายถึง มีองค์ 7 อย่าง แวดล้อมจิตที่เป็นหนึ่งอยู่ จิตที่เป็นหนึ่งนั้นเรียกว่า สัมมาสมาธิ ซึ่งจะมีปัญญาอยู่ในนั้น มีสมาธิ มีปัญญา จะเป็นที่ตั้งของวิชชาและวิมุตหลุดพ้นได้


    Q: คนที่เนรคุณผิดศีลหรือไม่?

    A: ถ้าเขาเนรคุณแล้วไม่ได้ทำผิดศีล เขาก็ไม่ผิดศีล แต่เนรคุณเป็นบาปที่ละเอียด เราต้องใช้เครื่องมือที่ละเอียดจึงจะกำจัดได้ จะกำจัดเนรคุณได้ ก็ด้วยความรู้คุณ


    Q: ความแตกต่างของสีลัพพตปรามาส กับ สีลัพพัตตุปาทาน?

    A: “สีลัพพต” คือ ศีล (ความเป็นปกติ) และ พรต (ข้อปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของนักบวช), “ปรามาส” คือ การจับต้อง ยึดมั่น ลูบคลำ, “อุปาทาน” คือ ความยึดถือ เมื่อยึดถือในศีลและพรต นั่นคือ “สีลัพพตตุปาทาน” เมื่อนำยึดมั่นในศีลและพรต นั่นคือ “สีลัพพตปรามาส”


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    55 mins
  • พิจารณากายเพื่อละกาย [6824-7q]
    Jun 14 2025

    Q: ควรวางจิตอย่างไรเมื่อจิตติดในการพิจารณากาย?

    A: ในการพิจารณากาย ท่านเปรียบไว้กับคนฆ่าโค ที่เขาจะแบ่งเนื้อออกเป็นส่วน ๆ แล้วเปรียบมาที่ตัวเราว่า เมื่อแยกตัวเราออกแล้ว แล้วตัวเราอยู่ตรงไหน หากขณะที่เราแยกออก แล้วเราสงสารวัว เรายังข้ามจุดนี้ไปไม่ได้ ก็อย่ากินสัตว์ใหญ่ พิจารณาว่าเขาฆ่าเจาะจงเพื่อเราหรือไม่ หากเห็น ได้ยิน และสงสัยว่าเขาจะฆ่าเจาะจงเพื่อเรา ก็อย่ากิน พิจารณาว่าการที่เรามีกรุณาต่อมันนั้นดีแล้ว ให้ใช้อุเบกขาเพื่อไม่ให้จิตเราเศร้าหมอง


    Q: ศีลอุโบสถรักษาอย่างไรที่ไหน?

    A: สามารถทำที่ไหนก็ได้ เพราะศีลอยู่ที่กาย วาจา โดยมีเจตนาเป็นตัวนำ โดยตั้งจิตไว้ว่า พระพุทธเจ้าและเหล่าพระอรหันต์ท่านรักษาศีลไว้ดีแล้วตลอดชีวิต เราจะเอาวันหนึ่งคืนหนึ่ง เช่นนี้ เราก็ได้ชื่อว่าได้อยู่ใกล้ท่านวันหนึ่งคืนหนึ่ง จะเป็นการปฏิบัติบูชาที่ดีมาก


    Q: การพิจารณากายคตาสติ ทำไมต้องเห็นกายเป็นปฏิกูลและไม่ปฏิกูล?

    A: หนึ่งในการพิจารณากายคือ การพิจารณาโดยความเป็นของทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล โดยท่านให้แนวทางพิจารณาไว้ คือ เห็นว่าสิ่งปฏิกูลไม่ปฏิกูล, เห็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลเป็นปฏิกูล, เห็นสิ่งที่ปฏิกูลโดยทั้งเป็นปฏิกูลและที่ไม่ปฏิกูล, เห็นสิ่งที่ไม่ปฏิกูลโดยทั้งเป็นปฏิกูลและที่ไม่ปฏิกูลและไม่เห็นทั้ง 2 อย่าง แต่เห็นโดยความเป็นอุเบกขา เราพิจารณาเพื่อให้เห็นตามจริง เพื่อละราคานุสัย เพื่อละปฏิฆานุสัย เพื่อกำจัดอวิชชาให้หมดไป


    Q: เข้าสมาธิแล้วมีอาการเจ็บหน้าอกควรแก้ไขอย่างไร?

    A: ควรปรึกษาแพทย์ก่อน หากตรวจแล้วร่างกายปกติ ค่อยมาพิจารณาว่าการเจ็บเป็นอาการอย่างหนึ่ง เป็นสภาวะจิตที่เราข้องอยู่ จะข้ามปัญหานี้ได้ คืออย่าไปใส่ใจมัน เพราะจิตเราเมื่อน้อมไปในสิ่งไหนสิ่งนั้นจะมีพลัง ถ้าเราไม่น้อมไปในสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็จะอ่อนกำลัง เราก็จะข้ามตรงนี้ไปได้


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    56 mins
  • พระวินัยพระกับสตรี [6823-7q]
    Jun 7 2025
    Q: สตรีควรปฏิบัติตนกับพระภิกษุอย่างไรจึงถูกต้องเหมาะสมตามหลักพระวินัยA: สำหรับพระภิกษุท่านสอนว่า อย่าไปพูด คุยหรือมองสตรี หากต้องพูดคุย ต้องทำอย่างมีสติ ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ สำหรับสตรีไม่ควรเข้าไปใกล้พระQ: เรื่องของสัมผัสทางกายA: พระและสตรี ไม่ควรถูกเนื้อต้องตัวกัน ทั้งกายและของที่เนื่อง ด้วยกายคือของที่ต่อจากตัว เช่น เส้นผม เสื้อผ้า ทั้งนี้ หากท่านไม่ได้ตั้งใจ ไม่ได้มีจิตกำหนัด ท่านไม่ผิด สำคัญที่เจตนา แต่หากท่านมีจิตกำหนัด แปรปรวน รักใคร่ ทั้งทางกายและทางใจ ถือว่าเป็น “อาบัติสังฆาทิเสส” นอกจากนี้พระยังไม่ควรแตะต้องเงินทอง อัญมณีและสิ่งของที่มีมูลค่ามาก เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นวัตถุอนามาสพระสงฆ์ไม่ควรแตะต้องQ: การนั่งอยู่ในที่เดียวกันA: พระและสตรีไม่ควรนั่งหรือนอนในที่เดียวกัน ไม่ว่าที่แห่งนั้นจะมีสตรีคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม หากมีพระอยู่รูปเดียวโดยไม่มีชายที่รู้เดียงสาหรือมีพระอื่นอยู่ด้วย ถือว่าอาบัติปาจิตตีย์ แต่หากท่านยืนขึ้น ท่านจะพ้นจากอาบัติข้อนี้ได้ Q: การเดินทางไกลด้วยกันA: พระกับสตรี ห้ามเดินทางด้วยกันลำพัง ต้องมีผู้ชายหรือพระรูปอื่นไปด้วย Q: การถ่ายรูปคู่กันA: ตอนถ่ายรูปให้มีคนอื่นอยู่ด้วย คือการถ่ายรูปไม่ผิดธรรมวินัยอยู่แล้ว Q: การพูดการฟังที่ปรารภเรื่องที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม และสถานที่พูดA: การพูด ไม่พูดคำพูดที่ทำให้มีจิตกำหนัด ไม่พูดชักสื่อให้ชายหญิงอยู่ร่วมกัน ไม่พูดกระซิบข้างหู สถานที่ แบ่งเป็นที่สาธารณะ (เช่น สนามบิน ศาลาปฏิบัติธรรม คือเป็นสถานที่ที่ใครจะเข้ามาก็ได้) และที่ลับหูลับตา, ที่ไม่ลับตาแต่ลับหู(เห็นอยู่ไกลคนอื่นไม่ได้ยินว่าพูดอะไรกัน) ซึ่งสถานที่แบบนี้มักจะมีปัญหา เพราะคนมองไม่เห็น บางทีมีการสัมผัสกัน อาจมีคำพูดที่ไม่เหมาะสม เช่น การยั่วเย้าไปในทางเพศสัมพันธ์ อาจจะมีอาบัติและถูกโจษได้Q: การแสดงธรรมแก่มาตุคามA: ห้ามแสดงธรรมกับผู้หญิงเกิน 5-6 คำ (หมายถึงพระบาลี) แต่ถ้าแสดงเพื่ออธิบายธรรม ไม่ได้มีสิกขาบทห้ามไว้ หากแสดงธรรมที่มากกว่านี้ต้องมีชายรู้เดียงสาหรือคนอื่นอยู่ด้วยQ : ...
    Show More Show Less
    56 mins
  • ผู้ชื่อว่าสุปฏิปัณโณ [6822-7q]
    May 31 2025
    Q: เหตุใดอุบาสก อุบาสิกา จึงนิยมสวมใส่ชุดขาวมาปฏิบัติธรรมและอุบาสก อุบาสิกา ในสมัยพุทธกาลได้แต่งชุดขาวหรือไม่อย่างไร?A: สันนิษฐานว่า อาจจะเกี่ยวกับคืนวันที่ท่านจะตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ท่านได้ฝันคือมหาสุบิน ในฝันนั้นท่านเห็นหนอนตัวสีขาวหัวดำ คลานมาจากทุกทิศทุกทางทุกวรรณะ และในมหาประนิพพานสูตร ตอนที่มารมาขอให้ท่านปรินิพพาน หนึ่งในเหตุผลที่ท่านกล่าวกับมาร คือท่านจะยังไม่ปรินิพพานตราบใดที่อุบาสก อุบาสิกา ผู้ที่นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ (ถือศีล 8) และอุบาสก อุบาสิกา ผู้นุ่งขาวห่มขาวที่ยังบริโภคกาม (รักษาศีล 5) ยังไม่แกล้วกล้า ยังไม่สามารถแสดงธรรม ข่มขี่ ปรัปวาทให้ราบคาบโดยธรรม แล้วแสดงธรรมพร้อมทั้งความน่าอัศจรรย์ได้ ถ้ายังไม่ได้ยังไม่ปรินิพพานQ: อะไรคือการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมA: “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” แปลว่า การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อีกคำหนึ่งที่ใช้คือ “ทำให้เป็นบริกรรม” หมายความนัยยะแรกคือปฏิบัติต่อเนื่องเหมาะสม และทำจนกว่าจะถึงจุดที่สำเร็จขึ้นมา นัยยะที่สองคือการใช้ธรรมะให้ถูกเหมาะสมกับเรื่องราว Q: เราสามารถดูได้อย่างไรว่า พระภิกษุผู้ใดเป็นผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ?A: ดูที่พระวินัยคือศีลของพระ ถ้าไม่มีศีลแม้จะโกนผมห่มเหลืองก็ไม่ใช่พระ ถ้ามีศีลต่อให้ไม่โกนผมไม่ห่มเหลืองก็เป็นพระได้Q: พระที่เรียกว่า "พระสุปฏิปันโน" มีลักษณะอย่างไร? A: ในบทสังฆคุณ 9 เริ่มจากสุปฏิปันโน คือปฏิบัติดี เริ่มจากศีล สมาธิ และปัญญา หมายถึง การปฎิบัติตามมรรค 8 ปฏิบัติตามทางสายกลาง ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง มีศีลเป็นพื้นฐาน ศีลจะรู้ได้ด้วยตา ฟังได้ด้วยหู สมาธิจะรู้ได้ด้วยเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าพอใจแล้วยังดีเช่นเดิมได้ ปัญญาดูได้จากการสนทนา ศีล สมาธิ ปัญญา จะเป็นตัวบ่งบอกได้Q: ผู้ที่บวชมาเป็นพระในพุทธศาสนาแล้ว แต่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิเดินจงฺกมเลย ท่านจะบาปหรือไม่?A: ดูที่พระวินัยที่ศีล ท่านไม่ได้ทำผิดศีลท่านไม่บาป หากแต่ท่านจะไม่มีสมาธิ ปัญญา บรรลุถึงพระนิพพานได้ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Show More Show Less
    56 mins
  • มหาโจรในคราบผ้าเหลือง [6821-7q]
    May 24 2025

    Q: วิเคราะห์กรณีพระมหาเถระติดการพนัน

    A: ท่านบัญญัติศีลไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล คนทำผิดศีล จึงไม่ได้มีเฉพาะในสมัยนี้เท่านั้น “พระ” หากขึ้นชื่อว่าโกง ก็อาบัติปาราชิกแล้ว ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินว่ามากหรือน้อย ท่านถูกกิเลสภายในหลอก ถูกหลอกให้เข้าใจว่าสิ่งที่ผิด ว่าไม่ผิด ให้เข้าใจว่าที่ไม่ดีเป็นดี ถ้าเรากำจัดกิเลสในตัวเราออกไปได้เราจะไม่ถูกหลอก ให้เรารักษาจิตใจเราให้ดี รักษาศีล มีพรหมวิหาร 4 คิดดี ทำดี เราก็จะสามารถประคองรักษาตนให้กิเลสออกไปจากจิตใจเราได้


    Q: วิเคราะห์ตามหลักธรรม : “มหาโจรที่แท้จริง”

    A: ในทางพุทธศาสนา มหาโจรที่แท้จริง คือผู้ที่อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน ไม่ใช่พระอรหันต์แต่หลอกคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์ (เว้นแต่เข้าใจผิดว่าตัวเองเป็น) เพราะมันตรวจสอบไม่ได้ และการบิดเบือนคำสอนซึ่งเป็นการทำลายศาสนา


    Q: พระพุทธเจ้าทรงห้ามการบวชของกะเทยหรือไม่?

    A: พุทธพจน์ “บัณเฑาะก์ ไม่ให้บวช” / อรรถกถาได้แบ่งบัณเฑาะก์ออกเป็น 5 ประเภท ประเภทที่บวชได้ คือกายเป็นชายแต่ใจเป็นหญิง ประเภทอื่นบวชไม่ได้


    Q: ปิติสุขเกิดจากวิตกวิจารใช่หรือไม่? ถ้าไม่เกิดปิติสุขเป็นเพราะทำวิตกวิจารไม่ถูกใช่หรือไม่?

    A: ใช่ ปิติสุขเป็นสุขประเภทที่อาศัยเหตุคือวิตกวิจาร ที่ไม่เกิดปิติสุขเพราะวิตกวิจารมันไม่ต่อเนื่องจนไปถึงปิติสุขได้ เพราะมีกระแสของอกุศลมาตัดรอน คือนิวรณ์ 5 เราจึงควรยับยั้งไม่ให้สติไปในทางอกุศลด้วยการฝึกสติให้มีพลัง

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    57 mins
  • พิชิตงานด้วยอิทธิบาทสี่ [6820-7q]
    May 17 2025

    Q: เมื่อหมดไฟจากการทำงานในระบบราชการ เกิดความเบื่อเซ็งควรทำอย่างไร?

    A : การที่เราเบื่อเซ็งแล้วหาทางออกของปัญหา นั่นคือเรามีสติ หลักธรรมที่จะแก้ความเบื่อเซ็งได้คือ “อิทธิบาท4” ให้เราตั้งธรรมเครื่องปรุงแต่งขึ้นมา (งาน) และใช้สมาธิเพื่อเชื่อมธรรมเครื่องปรุงแต่งกับอิทธิบาท 4 เข้าด้วยกัน คือเวลาเราทำงานก็จดจ่อในงาน ตั้งฉันทะไว้ด้วยจิตเป็นสมาธิ เราก็จะมีการคิดพัฒนาปรับปรุงคือวิมังสา แล้วก็ใส่ความเพียรเข้าไปคือวิริยะ เกิดความเอาใจใส่คือจิตตะ โดยให้เริ่มทำจากตรงที่เราทำได้ เช่น ตอนที่เราทานอาหารหรือออกกำลังกาย ค่อย ๆ พัฒนาขึ้น ๆ แล้วจึงฝึกที่หน้างาน คือเมื่อเราอยู่ที่ทำงาน ให้ฝึกสังเกต เมื่อเราสังเกตเห็นอารมณ์นั้น สติก็จะมา เมื่อเรามีสติ จิตก็จะน้อมไปในทางแก้ปัญหา ไม่น้อมไปในทางเบื่อเซ็ง

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    52 mins