• ที่สุดแห่งโลก [6827-6t]
    Jul 4 2025
    หมวดธรรม 4 ประการ ในโรหิตัสสวรรค หมวดว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตรข้อที่ #41_สมาธิภาวนาสูตร ว่าด้วยสมาธิภาวนา สมาธิภาวนาเป็นหนึ่งในองค์ของอริยมรรคมีองค์แปด คือสัมมาสมาธิที่เมื่อบุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ1. อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน คือ สามารถเข้าฌาน 1-4 ได้ 2. ได้ญาณทัสสนะ (ทิพพจักขุญาณ) คือ การทำจิตให้เป็นเสมือนแสงสว่าง กำหนดหมายว่าแสงสว่างในเวลากลางวันฉันใด ย่อมทำในใจว่าแม้ในกลางคืนก็ฉันนั้น3. สติสัมปชัญญะ คือ มีสติเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ของเวทนา สัญญา และวิตก4. ความสิ้นอาสวะ คือ เห็นการเกิด-ดับในอุปทานขันธ์ห้าได้ด้วยปัญญา (ญาณ)ข้อที่ #42_ปัญหพยากรณสูตร ว่าด้วยวิธีการตอบปัญหา เมื่อถูกถามควรพิจารณาถึงคำถามและเลือกวิธีที่จะตอบให้เหมาะสมกับคำถามนั้น พระสูตรนี้ได้บอกถึงวิธีที่จะใช้ในการตอบคำถามไว้ 4 วิธี คือ1. ตอบโดยนัยเดียว2. แยกตอบ3. ตอบโดยย้อนถาม4. งดตอบข้อที่ #43_ปฐมโกธครุสูตร และ ข้อที่ #44_ทุติยโกธครุสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ สูตรที่ 1-2 มีเนื้อหาข้อธรรมที่เหมือนกันกล่าวถึงคุณสมบัติของบุคคล 4 ประเภทที่ไม่มีความเคารพสัทธรรม คือ บุคคลผู้มักโกรธ ผู้มักลบหลู่ ผู้เห็นแก่ลาภ และสักการะ และในทางตรงกันข้ามบุคคลผู้มีความเคารพสัทธรรมจะเป็นผู้ไม่มักโกรธ ไม่ลบหลู่ ไม่เห็นแก่ลาภและสักการะ บุคคลจำพวกหลังนี้ย่อมทำตนให้เจริญในธรรมได้ข้อที่ #45_โรหิตัสสสูตร ว่าด้วยโรหิตัสสเทพบุตร เป็นเรื่องราวของเทวดาที่ชื่อว่า “โรหิตัสสะ” ได้เข้ามากราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง “การทำที่สุดแห่งโลก ได้ด้วยการไปอย่างไร?” (ที่สุดแห่งโลก ในที่นี้หมายถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือนิพพานนั่นเอง) แล้วได้เล่าถึงครั้งที่ตนเคยเป็นฤาษีสามารถเหาะข้ามโลกได้ด้วยความว่องไวแห่งฤทธิ์ตลอดระยะเวลา 100 ปี ไม่กินไม่นอนจนกระทั่งตายก็ยังไม่สามารถทำให้ถึงที่สุดของโลกได้ หลังจากนั้นพระผู้มีภาคเจ้าก็ได้ทรงตอบกลับว่า พระองค์ไม่กล่าวที่สุดแห่งโลกได้ด้วยการไป แต่พระองค์ได้ทรงบัญญัติอริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่มีอยู่ในกายนี้ ...
    Show More Show Less
    49 mins
  • บุคคลผู้เป็นนาบุญ [6826-6t]
    Jun 27 2025
    จากท่านผู้ฟังที่ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์อานิสงส์ของศีลแปดแบบผู้ครองเรือนและแบบผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่ตนได้รับจากการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน โดยได้กล่าวถึงพระสูตรข้อที่ #40_ทุจจริตวิปากสูตร ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต ที่ได้รับฟังในรายการทำให้นึกถึงศีลที่ตนได้ปฏิบัติ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นข้อธรรมตรงกันข้ามกัน แล้วเปลี่ยนจากการดื่มสุราและเมรัยในข้อสุดท้ายมาเป็นสัมมาอาชีวะ เราเรียกข้อปฏิบัตินี้ว่า อาชีวัฏฐมกศีล คือ ศีลมีอาชีพเป็นที่ 8 ได้แก่ กายกรรม (3) วจีกรรม (4) อาชีวะ (1) ซึ่งเป็นการรักษาศีลแปดแบบไม่ต้องประพฤติพรหมจรรย์และปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไปด้วยศีลแปดแบบผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ทำให้ได้รับอานิสงส์ที่เห็นได้ทางกายภาพ คือ มีสุขภาพที่ดีขึ้น*การรักษาศีลแปดมีอานิสงส์มาก นอกจากความสุขอย่างสามัญแล้วยังเป็นไปเพื่อสมาธิและปัญญา เป็นทางแห่งการบรรลุธรรมมาต่อกันที่สี่พระสูตรสุดท้ายในโคตมีวรรค ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลผู้ที่ควรบูชา ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบข้อที่ #57_ปฐมอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 1 ผู้ประกอบด้วยธรรม 8 ประการนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาถวาย (ทาน) ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา (ทำบุญให้ผู้ล่วงลับ) ควรแก่การทำอัญชลี (กราบไหว้) เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกได้แก่1. เป็นผู้มีศีล2. เป็นพหูสูต (ฟังมาก จำได้ขึ้นใจ แทงตลอดได้ดีด้วยปัญญา)3. มีมิตรดี (มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง)4. เป็นสัมมาทิฏฐิ5. เป็นผู้ได้ฌาน 46. ระลึกชาติก่อนได้7. เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ (เคลื่อน) กำลังเกิด8. ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติข้อที่ #58_ทุติยอาหุเนยยสูตร ว่าด้วยอาหุไนยบุคคล สูตรที่ 2 มีข้อธรรมที่เหมือนกันกับพระสูตรที่ 1 แตกต่างกันในข้อที่ 3, 4, 5 และ 6 ดังนี้3. เป็นผู้ปรารภความเพียร4. อยู่ป่าเป็นวัตร อาศัยเสนาสนะที่สงัด5. อดทนต่อความยินร้ายและความยินดีได้6. อดทนต่อภัยที่น่ากลัวได้ (กิเลส)ข้อที่ #59_ปฐมปุคคลสูตร และ ข้อที่ #60_ ทุติยปุคคลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นนาบุญของโลก สูตรที่ 1-2 กล่าวถึง อริยบุคคล 8 จำพวก (4 คู่ แบ่งเป็นขั้นมรรคและขั้นผล) เป็นผู้ควรแก่ของที่นำมาถวาย ฯลฯ ...
    Show More Show Less
    58 mins
  • ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อมจากสมถะและวิปัสสนา [6825-6t]
    Jun 20 2025
    หมวดธรรม 4 ประการ มาในจักกวรรค หมวดว่าด้วยจักรข้อที่ #36_โทณสูตร ว่าด้วยโทณพราหมณ์ กล่าวถึงเรื่องราวของโทณพราหมณ์ที่ได้พบเห็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า แล้วได้ติดตามรอยพระบาทนั้นไปจนได้พบพระพุทธเจ้า และด้วยท่าทีอันสงบระงับของพระพุทธเจ้า ทำให้โทณพราหมณ์เกิดความรู้สึกเลื่อมใส จึงได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ท่านเป็นเทวดา คนธรรพ์ ยักษ์ หรือมนุษย์ใช่หรือไม่ ?” พระองค์ทรงตอบว่า พระองค์ไม่ได้เป็นอะไรทั้งนั้น เพราะด้วยเหตุที่ว่าอาสวะ (กรรม) ที่จะทำให้ไปเกิดได้ความเป็นอัตภาพเหล่านั้นสิ้นแล้วข้อที่ #37_อปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม คือ ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อมจากสมถะและวิปัสสนาที่ได้บรรลุแล้ว และจะได้บรรลุมรรคและผลที่ยังไม่ได้บรรลุ ได้แก่สมบูรณ์ด้วยศีลคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายรู้จักประมาณในการบริโภคประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนือง ๆ*จะเห็นได้ว่า 3 ข้อหลัง คือส่วนหนึ่งของศีลที่เป็นไปเพื่อสมาธิข้อที่ #38_ปฏิลีนสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้หลีกเร้น ธรรม 4 ประการนี้ ทำให้เป็นพุทธะได้เลย คือผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ หมายถึง สัจจะที่แต่ละคนยึดถือตามความเห็นของตนว่า “นี้เท่านั้นจริงสิ่งอื่นเปล่า” กำจัดได้แล้วผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี คือ ละการใฝ่หากาม การแสวงหาภพ และ การแสวงหาพรหมจรรย์ได้ขาดแล้วผู้มีกายสังขารอันระงับได้ คือ เข้าฌาน 4 ได้ผู้หลีกเร้น คือ ละมานะ 9 ได้ ข้อที่ #39_อุชชยสูตร ว่าด้วยปัญหาของอุชชยพราหมณ์ และ ข้อที่ #40_อุทายิสูตร ว่าด้วยปัญหาของอุทายิพราหมณ์ มีเนื้อหาข้อธรรมเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่การปรารภถึงบุคคลที่ต่างกัน เป็นเรื่องการบูชายัญ กล่าวถึงยัญที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ คือ นิจทาน (มีผู้รับ) และ อนุกูลยัญ (ทำบุญให้บรรพบุรุษ) ส่วนยัญที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ คือ ยัญที่ต้องมีตระเตรียมการฆ่าและเบียดเบียนสัตว์พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จักกวรรค Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Show More Show Less
    53 mins
  • แผนที่การครองเรือน [6824-6t]
    Jun 13 2025
    ฆราวาส หรือ ผู้อยู่ครองเรือนที่ยังยินดีในการบริโภคกาม ย่อมปรารถนาสุขสามัญ คือ ความสุขที่เกิดจากทรัพย์สิน เงินทอง ยศ เกียรติ ไมตรี และจะมีธรรมเหล่าใดที่เมื่อผู้ครองเรือนปฏิบัติแล้วจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบันและในภายภาคหน้า ซึ่งใน ทีฆชาณุสูตร และ อุชชยสูตร ได้กล่าวถึง ทิฏฐธัมมิกัตถะ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรือ “ หัวใจเศรษฐี ” (อุ อา กะ สะ) และ สัมปรายิกัตถะ หมายถึง ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า อธิบายแยกให้เห็นดังนี้ทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน ได้แก่1) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น เช่น ขยันหมั่นเพียร เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงาน2) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษาโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม3) กัลยาณมิตตตา ความเป็นผู้มีมิตรดี คบคนดี ไม่คบคนชั่ว เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา4) สมชีวิตา อยู่อย่างพอเพียง รู้ทางเจริญทรัพย์ (ไม่เป็นนักเลงหญิง ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงการพนัน มีเพื่อนดี) และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ (เป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลงสุรา เป็นนักเลงการพนัน มีเพื่อนชั่ว) แล้วเลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้สุรุ่ยสุร่ายฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายรับของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายรับสัมปรายิกัตถะ 4 ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า ได้แก่1) สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา 2) สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล3) จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ4) ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา (คือ เห็นทั้งความเกิดและความดับในสังขารทั้งปวง)เป็นหลักธรรมที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรทั้ง 2 แต่ปรารภถึงบุคคลที่ต่างกัน โดยในข้อที่ #54_ทีฆชาณุสูตร ว่าด้วยโกฬิยบุตรชื่อว่าทีฆชาณุ เป็นการปรารภถึง ทีฆชาณุชาวโกฬิยะข้อที่ #55_อุชชยสูตร ว่าด้วยอุชชยพราหมณ์ เป็นการปรารภถึง อุชชยพราหมณ์ข้อที่ #56_ภยสูตร ว่าด้วยภัยเป็นชื่อของกาม คำว่า ภัย ทุกข์ โรค ฝี ลูกศร เครื่องข้อง เปือกตม การอยู่ในครรภ์ เป็นชื่อของกามเพราะเหตุไร...
    Show More Show Less
    59 mins
  • ความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ [6823-6t]
    Jun 6 2025

    หมวดข้อธรรม 4 ประการนี้มาในจักกวรรค หมวดว่าด้วยจักร เริ่มกันใน...

    ข้อที่ #31_จักกสูตร ว่าด้วยจักร 4 ประการ (จักร คือ สมบัติ) คือ การทำวนไปในธรรม 4 ข้อนี้แล้ว จะเป็นเหตุให้ถึงความร่ำรวยความเป็นใหญ่ได้ นั่นคือการอยู่ในพื้นที่ดี การคบคนดี การตั้งตนในธรรม และเป็นผู้ที่ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว


    ข้อที่ #32_สังคหสูตร ว่าด้วยสังคหวัตถุ คือ ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวให้เป็นไปในเรื่องเดียวกัน เกื้อหนุนกัน เป็นกลุ่มก้อน แต่ไม่ใช่ยึดถือ คนที่มี 4 ข้อนี้ จะเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดให้คนเข้ามาคือ การให้ปิยวาจา ประพฤติประโยชน์ การวางตนเสมอกัน คือร่วมทุกข์ร่วมสุข


    ข้อที่ #33_สีหสูตร ว่าด้วยพญาราชสีห์ เปรียบลีลาของราชสีห์กับการบันลือสีหนาทของพระพุทธเจ้า ในเรื่องสักกายะ (อริยสัจ 4) การบันลือสีหนาทนี้ ทำให้เทวดาสะดุ้งสลดสังเวชใจ


    ข้อที่ #34_อัคคัปปสาทสูตร ว่าด้วยความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ กล่าวถึงความเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศ ย่อมให้วิบากที่เลิศ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม (สังขตธรรมคืออริยมรรค และอสังขตธรรมคือวิราคะ) พระสงฆ์


    ข้อที่ #35_วัสสการสูตร ว่าด้วยวัสสการพราหมณ์ จะเห็นถึงความแตกต่างคำจัดความของมหาบุรุษระหว่างวัสสการพราหมณ์และพระพุทธเจ้า ที่เมื่อได้ฟังแล้ว วัสสการพราหมณ์ต้องยอมจำนน


    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จักกวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    56 mins
  • ธรรมของเจ้าอาวาส [6822-6t]
    May 30 2025

    หมวดข้อธรรม 5 ประการนี้ มาในวรรคที่ว่าด้วย “ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส” กล่าวถึงหลักคุณธรรมของผู้ดูแลอาวาส ซึ่งหลักธรรมนี้ไม่ใช่เฉพาะเจาะจงกับเจ้าอาวาสหรือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงเราทุกคน ถ้ามีคุณธรรมเหล่านี้ย่อมยังอาวาสหรือองค์กรนั้นให้เจริญรุ่งเรือง และงดงามได้


    ข้อที่ #231-234 อาวาสิกสูตร / ปิยสูตร / โสภณสูตร / พหูปการสูตร เจ้าอาวาสที่มีคุณธรรมดังนี้ “ย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพยกย่อง มีอุปการะ ยังอาวาสให้งดงาม” มาในหัวข้อที่ต่างกันแต่มีเนื้อหาข้อธรรมที่เหมือนหรือต่างกันบ้าง และพอจะสรุปรวมได้ดังนี้ คือ เป็นผู้มีมรรยาทและวัตรงาม มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีความประพฤติขัดเกลาดี ยินดีการหลีกเร้น วาจางาม ยังคนให้อาจหาญ ดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และอุปการะภิกษุผู้มาจากต่างแคว้นได้ เป็นผู้ได้ฌาน 4 มีปัญญา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตและปัญญาวิมุตติ


    ข้อที่ #235_อนุกัมปสูตร เจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยธรรมต่อไปนี้ “ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์” คือให้สมาทานอธิศีลและให้เห็นธรรมได้ สามารถอนุเคราะห์คฤหัสถ์ป่วยไข้ และเชิญชวนให้ทำบุญตามกาลสมัยได้ บริโภคของที่เขานำมาถวาย ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป


    ข้อที่ #236-240 ปฐม-ทุติย-ตติยอวัณณารหสูตร / ปฐม-ทุติยมัจฉริยสูตร เป็นธรรมคู่ตรงข้าม มีหัวข้อที่เหมือนกันว่าด้วย เจ้าอาวาสที่เหมือนดำรงอยู่ในนรก คือไม่พิจารณาไตร่ตรองสรรเสริญคนที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ไม่พิจารณาไตร่ตรองปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสหรือไม่ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ในลาภ วรรณะ และทำศรัทธาไทยให้ตกไป


    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาวาสิกวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    59 mins
  • พระนางปชาบดีโคตมีทูลขออุปสมบท [6821-6t]
    May 23 2025
    จิตใจของพระนางมหาปชาบดีโคตมีเต็มไปด้วยความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะบวชเป็นภิกษุณี เธอได้แสดงความประสงค์ที่จะบวชต่อพระพุทธเจ้าหลายครั้ง ดั่งในพระสูตรที่จะหยิบยกมากล่าวนี้ข้อที่ #51_โคตมีสูตร ว่าด้วยพระนางปชาบดีโคตมีทูลขออุปสมบท ในพระสูตรนี้พระนางมหาปชาบดีโคตมี มีความปรารถนาที่จะออกบวชโดยได้แสดงไว้ถึง 2 วาระด้วยกัน คือ วาระแรก ที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระนางทูลขอกับพระพุทธเจ้าด้วยตัวเองถึง 3 รอบแต่ก็โดนปฏิเสธตกหมดทั้ง 3 รอบ และในวาระต่อมาที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี พระนางได้ปลงผม ห่มผ้ากาสายะ และออกเดินทางไปหาพระพุทธเจ้าถึงที่นั่นเพื่อทูลขออุปสมบท และในวาระนี้เองด้วยอุบายของพระอานนท์ในการช่วยเข้าไปกราบทูลขอพระพุทธเจ้า พระนางจึงได้อุปสมบทเป็นภิกษุณีแต่ต้องรับ “ครุธรรม 8 ประการ” ไปปฏิบัติ พระนางยินดีที่จะปฏิบัติตามคุรุธรรม 8 ประการ มีอะไรบ้างแม้บวชมานานนับร้อยปีก็ต้องกราบไหว้ภิกษุ แม้บวชในวันนั้นต้องจำพรรษาอยู่ในวัดที่มีภิกษุต้องไปถามวันอุโบสถและรับฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือนต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่ายหลังจำพรรษาแล้ว (ออกตัวให้ติเตียนได้)ต้องประพฤติมานัต (ออกจากกรรม) ในสงฆ์สองฝ่ายเมื่อต้องอาบัติหนักต้องเป็นสิกขมานา 2 ปี ก่อนจึงขออุปสมบทในสงฆ์สองฝ่ายได้ต้องไม่บริภาษด่าว่าภิกษุไม่ว่ากรณีใด ๆจะว่ากล่าวตักเตือนภิกษุไม่ได้ แต่ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนได้*และในตอนท้ายพระสูตรพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงถึงเหตุผลไว้ว่าทำไมถึงไม่ให้สตรีบวชและเหตุที่ต้องบัญญัติคุรุธรรมข้อที่ #52_โอวาทสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้จะสอนภิกษุณี ต่อเนื่องมาจากคุรุธรรมในข้อที่ว่า “ต้องรับฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน” พระสูตรนี้จึงว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ที่จะสอนภิกษุณีต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้างเป็นผู้มีศีล สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเป็นพหูสูต แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิเป็นผู้ทรงจำ จำแนก ปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีเป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ ไม่มีโทษ ...
    Show More Show Less
    56 mins
  • คุณสมบัติของอริยวงศ์ [6820-6t]
    May 16 2025

    ข้อที่ #26_กุหสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้หลอกลวง ภิกษุที่มีคุณสมบัติ 4 อย่างเหล่านี้ นับว่าห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ไม่มีความเจริญงอกงาม คือชอบหลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่าอวดดี มีจิตไม่ตั้งมั่น


    ข้อที่ #27_สันตุฏฐิสูตร ว่าด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย 4 กล่าวถึง ปัจจัยสี่ที่มีคุณสมบัติ “มีค่าน้อย หาได้ง่าย ไม่มีโทษ” ความเป็นอยู่แบบนี้สบายเหมาะแก่ความเป็นสมณะ เมื่อทำประจำนับว่าเป็นธุดงควัตร สามารถไปไหนก็ได้เหมือนนกมีปีก


    *สันโดษ คือ พอใจตามมีตามได้ แต่ไม่ใช่ขี้เกียจ สันโดษป้องกันจิตไม่ให้ติดกับดักของความอยาก ให้ตั้งไว้ในอิทธิบาท 4 สามารถมีเป้าหมายได้ ส่วนมักน้อย หมายความว่าไม่ต้องการให้คนอื่นรู้ว่าเรามีดีอะไร


    ข้อที่ #28_อริยวังสสูตร ว่าด้วยอริยวงศ์ กล่าวถึงการเอาปัจจัย 4 เป็นตัวแปรแล้วกล่าวสรรเสริญ ไม่แสวงหาด้วยเหตุอันไม่ควร ไม่ยกตนข่มท่าน เพราะเหตุความสันโดษนั้น


    ข้อที่ #29_ธัมมปทสูตร ว่าด้วยธรรมบท ธรรมที่ทำให้เป็นอริยวงศ์ คือ ความไม่เพ่งเล็ง ไม่พยาบาท มีสัมมาสติ มีสัมมาสมาธิ ซึ่งก็มาจากข้อภาวนานั่นเอง เป็นเรื่องของทางใจ


    ข้อที่ #30_ปริพพาชกสูตร ว่าด้วยปริพาชก เมื่อมีคุณสมบัติความเป็นอริยวงศ์นั้นจะไม่มีใครคัดค้านได้ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้าง


    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อุรุเวลวรรค

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show More Show Less
    57 mins